หัวข้อการอบรม ผู้นำเสนอวิชาระดับ
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาด้านพลังงานรศ.ดร.ธงชัย ฟองสมุทร วิทยาศาสตร์ม.ต้น
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาด้านพลังงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้ความรู้ด้านพลังงาน ในเรื่องปิโตรเลียม เนื่องจากในชีวิตประจำวันของเราล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ปิโตรเลียมแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การทาอาหาร การใช้ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากปิโตรเลียม เช่น น้ามันหล่อลื่น ลิปสติก เทียนไข ปิโตรเลียเจล เป็นต้น

ซึ่งในเนื้อหากิจกรรมนี้จะกล่าวถึง การเกิดปิโตรเลียม การสำรวจ และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปิโตรเลียม เพื่อให้เข้าใจถึงการเกิดปิโตรเลียม การสำรวจ การผลิตปิโตรเลียมและมาตรการความปลอดภัย โดยจะเน้นขั้นตอนการสำรวจปิโตรเลียม สามารถให้ผู้เข้าอบรมมีการวางแผนมีการวางแผนในการผลิตปิโตรเลียม โดยออกแบบ การวางหลุมผลิตปิโตรเลียมให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และออกแบบอุปกรณ์การผลิตเพื่อให้การผลิตปิโตรเลียมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจตำแหน่งในการสำรวจ การขุดสำรวจเพิ่มเติม เพื่อสรุปผลประกอบการของบริษัท กาไร/ขาดทุน กี่ล้านบาท จะเป็นการพัฒนาการคิด วิเคราะห์ การแก้ปัญหา และบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี สู่สถานการณ์ในชีวิตจริง รวมถึง การออกแบบสร้างนวัตกรรมตามความสนใจ สามารถนาไปบูรณาการกับทักษะด้านสะเต็มได้
2. สะเต็มศึกษากับนาโนเทคโนโลยี นายมานะ อินทรสว่าง วิทยาศาสตร์ม.ปลาย
การนำความรู้ทางด้านนาโนเทคโนโลยี เรื่อง ท่อนาโนคาร์บอน มาจัดเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของท่อนาโนคาร์บอนผนังเดียวชนิดต่าง ๆ สร้างแบบจำลองของท่อนาโนคาร์บอนผนังเดียวชนิดต่าง ๆ การใช้เทคนิค Stop Motion แสดงการม้วนตัวแผ่นกราฟีนเป็นท่อนาโนคาร์บอน และการใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์เกี่ยวกับเวกเตอร์ อธิบายรูปแบบการม้วนของท่อคาร์บอนนาโนผนังชั้นเดียว โดยใช้กระบวนการทางวิศวกรรม 6 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย 1. การระบุปัญหา จะมีการใช้คลิปวิดีโอข่าวการสร้างลิฟต์อวกาศของประเทศญี่ปุ่น และบทความมาเป็นสื่อที่ช่วยให้นักเรียนสามารถระบุปัญหาได้ 2. การรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา จะใช้เทคนิคการตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนหาข้อมูลให้เพียงพอสำหรับการทำชิ้นงานตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ 3. การออกแบบการแก้ปัญหา จะกำหนดให้มีการสังเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาและนำไปใช้ในการสร้างแบบจำลองของท่อคาร์บอนนาโนผนังชั้นเดียว 4. ขั้นวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา จะใช้การสร้างผังการปฏิบัติงาน แล้วดำเนินการแก้ปัญหาตามผังการปฏิบัติงาน 5. ขั้นทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหา ทดสอบแบบจำลองท่อนาโนคาร์บอนแล้วปรับปรุงให้ชิ้นงานเป็นไปตามจุดประสงค์ 6. การนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหา ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอชิ้นงานของตนเองและตอบข้อซักถาม
3. รูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นความสนุกและจับต้องได้โดยใช้สื่อเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อการศึกษา ดร.ปิติวุฒญ์ ธีรกิตติกุล เทคโนโลยี
ม.ต้น
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) เป็นกระบวนการที่สำคัญในการศึกษาหาคำตอบของสิ่งต่างๆ อย่างมี
เหตุผล การพัฒนาทักษะกระบวนการนี้ให้กับผู้เรียนไม่เพียงแต่ช่วยส่งเสริมคุณลักษณะที่ดีของการเป็นนักวิทยาศาสตร์แต่ยังสามารถช่วยให้ผู้เรียน (ที่ถึงแม้ไม่ได้ต้องการเป็นนักวิทยาศาสตร์) มีทัศนคติที่ดีต่อการทำความเข้าใจปัญหาและมีกระบวนการในการหาคำตอบของสิ่งต่างๆ อย่างสมเหตุสมผลอีกด้วย อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาการปูพื้นฐานเหล่านี้ให้กับผู้เรียนถูกกระทำผ่านการเรียนวิชาปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญและรู้สึกเบื่อหน่าย การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้มุ่งเน้นเปิดประสบการณ์ให้ผู้เข้าร่วมได้สัมผัสกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นความสนุกและจับต้องได้ (Fun-gible learning approach) โดยใช้สื่อทางด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนุกและความกระตือรื้อล้นในการเรียนผ่านภารกิจรูปแบบการแข่งขันที่ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และเกิดความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริงด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติและศึกษาทดลองเพื่อพัฒนาสื่อหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ให้สามารถพิชิตภารกิจที่กำหนด โดยผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านหุ่นยนต์หรือการเขียนโปรแกรมใดๆ ทั้งสิ้น
4. อบรมเชิงปฏิบัติการพื้นฐานการใช้ GeoGebraดร. อลงกรณ์ ตั้งสงวนธรรม คณิตศาสตร์
ม.ต้น
ในการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ ผู้เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรม GeoGebra ขั้นพื้นฐาน ซึ่งโปรแกรม GeoGebra เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปคณิตศาสตร์เชิงพลวัตที่รวบรวมเรขาคณิต พีชคณิตและแคลคูลัสไว้ด้วยกัน เหมาะสำหรับใช้ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ผู้เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ของโปรแกรมเพื่อการใช้งานพื้นฐานด้านเรขาคณิต พีชคณิต และสถิติ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานเพียงพอในการสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GeoGebra ด้วยตนเอง รวมถึงการสืบค้นสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์บนเว็บไซต์ www.geogebra.org
5. ถอดรหัสผู้นำสารจากอวกาศดร.ปรีดา พัชรมณีปกรณ์,
รักษพล ธนานุวงศ์
และรตพร หลิน
วิทยาศาสตร์
ม.ปลาย
รังสีคอสมิก (cosmic rays) คืออนุภาคพลังงานสูงที่มาจากอวกาศ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากกระบวนการพลังงานสูงหลายชนิดในเอกภพ เช่น ซูเปอร์โนวา (supernova) การลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ (solar flare) หรือ การดูดกลืนสสารของหลุมดำ (black hole) เมื่อรังสีคอสมิกเดินทางมายังชั้นบรรยากาศโลก จะพุ่งชนอะตอมของแก๊สในชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้เกิดอนุภาคชนิดต่าง ๆ จำนวนมากที่เดินทางมาถึงพื้นโลก ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของอนุภาคเหล่านี้ เราจะสามารถเข้าใจรังสีคอสมิกและกระบวนการบางชนิดที่เกิดขึ้นในเอกภพได้ ดังนั้น อนุภาคที่เกิดจากรังสีคอสมิกจึงเปรียบเสมือน “ผู้นำสารจากอวกาศ” มายังพื้นโลก

การศึกษารังสีคอสมิกทำได้หลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการใช้ “ห้องหมอก” (cloud chamber) ในการตรวจจับอนุภาคที่เดินทางมาถึงพื้นโลก การสร้างห้องหมอกขนาดเล็กสามารถทำได้ไม่ยากจากการใช้วัสดุที่หาได้รอบตัว ซึ่งในกิจกรรมนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ลงมือปฏิบัติในการสร้างห้องหมอกขนาดเล็ก และจะได้ทดสอบการตรวจจับอนุภาคที่มาจากรังสีคอสมิก จากนั้น จะเป็นการนำผลที่ได้มาสังเกต วิเคราะห์ และอภิปรายเพื่อแปลความหมาย โดยสิ่งที่ได้เรียนรู้สามารถใช้เป็นแนวทางในการสอนเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับ ม.ปลาย เรื่อง องค์ประกอบของสสาร แรงแม่เหล็ก ประจุไฟฟ้า รังสี วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์ และเทคโนโลยีอวกาศ
6. มารู้จักน้ำทะเลและการหมุนเวียนของน้ำในมหาสมุทรนิทัศน์ ลิ้มผ่องใส และคณะ
วิทยาศาสตร์ม.ปลาย
มหาสมุทรเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ปกคลุมผิวโลกมากถึง 3 ใน 4 ส่วน และมีน้ำมากถถึง 1.35 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร ความกว้างใหญ่และปริมาณน้ำอันมหาศาลทำน้ำในแต่ละบริเวณของมหาสมุทรได้รับปัจจัยทางธรรมชาติที่แตกต่างกัน เช่น ปริมาณพลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ ลม ปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำที่ไหลลงมาจากแผ่นดิน จากปัจจัยที่แตกต่างกันนี้เองทำให้น้ำในมหาสมุทรมีสมบัติและรูปแบบการไหลเวียนที่แตกต่างกัน โดยสมบัติของน้ำที่แตกต่างกันทำให้น้ำเกิดการแบ่งชั้นเป็น 3 ชั้น ได้แก่ น้ำชั้นบน น้ำชั้นเทอร์โมไคลน์ และน้ำชั้นล่าง ในน้ำชั้นบนจะเกิดการหมุนเวียนของน้ำที่เรียกว่า กระแสน้ำผิวหน้า ส่วนในน้ำชั้นล่างจะเกิดการหมุนเวียนของน้ำที่เรียกว่า กระแสน้ำลึก ทั้งกระแสน้ำผิวหน้าและกระแสน้ำลึกจะไหลเวียนต่อเนื่องเชื่อมโยงกันเกิดเป็นระบบที่เรียกว่าการหมุนเวียนของน้ำในมหาสมุทรซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ และภูมิอากาศ
7. สนุกกับหุ่นยนต์บังคับมือแบบขานายวรณัฐ หมีทอง,
นายเทเวศร์ ม่วงพลับ
เทคโนโลยีม.ต้น
หุ่นยนต์บังคับมือ (Manual Control Robot) คือ การนำมอเตอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้า วัสดุทางกลศาสตร์ มาออกแบบประกอบเป็นหุ่นยนต์ที่เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ได้ ในการทำงานสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยสวิทซ์เปิด-ปิด หรืออุปกรณ์ควบคุม (Remote Control) แบบมีสาย การสร้างหุ่นยนต์บังคับมือจะต้องใช้ทักษะในการออกแบบและเขียนแบบเพื่อสร้างชิ้นงาน ทักษะในการใช้เครื่องมือช่างเบื้องต้น รู้เข้าใจและมีทักษะทางด้านกลศาสตร์เช่น แรงต้านหรือแรงเสียดทาน /จุดหมุน หลักการสมดุลของวัตถุ หลักการเปลี่ยนแปลงของพลังงาน จากพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลและสามารถนำพลังงานกลไปใช้ในการขับเคลื่อนหุ่นยนต์ได้ ผู้เข้าอบรมจะได้สร้าง /ประกอบและทดสอบการทำงานของหุ่นยนต์ สามารถประกอบเฟืองทดรอบได้หลากหลายรูปแบบ สามารถนำรูปแบบของเฟืองทดที่ประกอบแต่ละรูปแบบไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เข้าใจและสามารถจัดการเชื่อมต่อวัสดุที่เป็นขาของหุ่นยนต์ให้เคลื่อนที่ได้อย่างสมดุล

เพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของสะเต็มศึกษา และสอดคล้องกับกิจกรรมสะเต็มศึกษาในโรงเรียน สนองต่อการดำเนินงานตามแนวนโยบายของรัฐบาล ผู้จัดการอบรมจึงได้จัดกิจกรรม สนุกกับหุ่นยนต์บังคับมือแบบขา
โดยใช้ชุดฝึกหุ่นยนต์บังคับมือแบบขา เป็นสื่อกลางในการนำความรู้มาใช้สำหรับแก้ปัญหาตามสถานการณ์สมมติ อันจะนำไปสู่ทักษะการแก้ปัญหาซึ่งเป็นทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 ต่อไป
8. ปฏิบัติการแบบจำลองการเกิดฝนหลวงนางพันธุ์ทิพย์ ทิมสุกใสวิทยาศาสตร์
ประถม
โครงการพระราชดำริพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 มีมาก เพื่อให้ผู้สอน ผู้เรียน ตระหนัก เห็นความสำคัญ ฝึกให้ผู้เรียนคิดออกแบบ วางแผน วิเคราะห์ สังเคราะห์ ด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จึงได้นำเสนอกิจกรรม ปฏิบัติแบบจำลองการเกิดฝนหลวง เลือกหนึ่งโครงการที่พระองค์เสด็จเยี่ยมราษฎรจังหวัดสกลนคร เห็นความแห้งแล้ง จึงเลือกใช้สารที่หาง่าย ประหยัด ปลอดภัย ใช้สารเกลือแกง หรือโซเดียมคลอไรด์ ปุ๋ยยูเรีย และน้ำ ใช้หลักสืบเสาะ ผลสารทั้งสองเท่ากัน เมื่อละลายน้ำในเวลาเท่ากัน ได้อุณหภูมิต่างกัน เมื่อเปลี่ยนปริมาณสารทั้งสอง แบบจำลองการเกิดฝนหลวงต่างกัน สังเกตจากกระดาษขำระเปียก เพราะสารทั้งสองเป็นแกนล่อ เปรียบได้กับการเกิดฝนเทียมหรือฝนหลวง

ปฏิบัติการนี้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง 2551 สาระที่ 3 ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ต่อมัธยมศึกษาตอนต้น ช่วยครูได้แนวคิด ฝึกการเรียนการสอนเชิงโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนสามารถศึกษาต่อ เลือกสารอื่น ที่เป็นกลุ่มสารเดียวกัน เป็นตัวล่อเกิดฝนเทียมดีกว่า นำหลักพัฒนาสู่การอธิบาย การเกิดหิมะ ทำไอศกรีมสูตรต่างๆ ได้ โครงการพ่อหลวง นำจัดการสอน เป็นตัวอย่างสเต็มศึกษา มีประโยชน์ต่อการเตรียมครู ผู้เรียนสู่ 4.0 อย่างมั่นใจ
9.ระบบอัตโนมัติกับการออกแบบกิจกรรมสะเต็มศึกษา รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผลเทคโนโลยีม.ต้น
ปัจจุบันระบบสมองกลฝังตัวเป็นระบบที่สามารถศึกษาได้ง่าย ๆ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา มีชุดทดลอง หรือเครื่องมือต่าง ๆ ผลิตออกมามากมาย ขณะเดียวกันทางสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สสวท ได้พัฒนาระบบนี้ขึ้นมาหลายปี และมีหลาย ๆ โรงเรียนนำอุปกรณ์ระบบสมองกลฝังตัวไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ใหม่ ๆ และวิธีการพัฒนาโปรแกรมลักษณะต่าง ๆ ออกมามากมาย หากเรานำความรู้ในด้านนี้บูรณาการร่วมกันความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี จะทำให้เราสามารถพัฒนาโครงงาน สิ่งประดิษฐ์ หรือระบบต่าง ๆ ที่ทำงานได้อัตโนมัติมากมาย ซึ่งการพัฒนางานลักษณะนี้ในโรงเรียนอาจเป็นการพัฒนาต้นแบบของนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ทำงานได้อัตโนมัติ ก่อนที่จะนำไปใช้งานผลิตออกมาใช้งานได้จริง และยังตอบโจทย์ ThaiLand 4.0 ได้เป็นอย่างดี
10. กิจกรรมเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงคำนวณอย่างเป็นระบบผ่านหลักการเขียนโปรแกรมอย่างง่ายApple Thailand.เทคโนโลยีม.ต้น
การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำกิจกรรมส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณอย่างเป็นระบบทักษะสำคัญในการทำงานให้บรรลุเป้าประสงค์ รับรู้ และวิเคราะห์ปัญหาในแต่ละขั้นตอนการทำงานและสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหาได้ ซึ่งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมจะช่วยพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณอย่างเป็นระบบนี้ได้เป็นอย่างดี ทำให้ในหลายประเทศมีการบรรจุแนวคิดเกี่ยวกับหลักการเขียนโปรแกรมอย่างง่ายไว้ในหลักสูตร ซึ่งองค์ความรู้และหลักการเหล่านี้เป็นหัวใจของการพัฒนานวัตกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของพลเมืองในยุคดิจิทัล ความสามารถในการออกแบบและการทำความเข้าใจหลักการทำงานของสื่อและแอพพลิเคชันจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแต่กลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคน

ผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ จะได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่อาศัยความรู้พื้นฐานในการเขียนโปรแกรมอย่างง่ายที่สอดคล้องกับบริบทชีวิตจริง ได้ฝึกทักษะการคิดเชิงคำนวณอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ปัญหาผ่านสื่อการเรียนรู้ประเภทเกมต่าง ๆ โดยเฉพาะ Swift Playgrounds อีกทั้งจะได้เห็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน อันเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงนวัตกรรมอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับประโยชน์และสามารถนำไปใช้กับห้องเรียนของตน
11. iPad กับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วม Apple Thailand.เทคโนโลยีม.ต้น
การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอทางเลือกในการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งด้านองค์ความรู้และทักษะ ด้วยการเลือกใช้ศักยภาพของสื่อเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยกระชับเวลาการจัดการเรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนได้เป็นผู้ลงมือทำด้วยตนเอง (active learner) เสริมสร้างความมั่นใจและสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน โดยผู้เข้ารับการอบรมจะได้ลงมือปฏิบัติสร้างประสบการณ์ผ่านกิจกรรมสะเต็มศึกษา ควบคู่ไปกับได้ฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการต่างๆ ของการเรียนรู้ด้วยระบบนิเวศบน iPad

เชื่อมั่นว่าการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้จะทำให้ครูเกิดความมั่นใจในการนำแนวทางที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในห้องเรียน การจัดการเรียนรู้ของครูจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามศักยภาพและความถนัดของแต่ละบุคคล กระตุ้นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 เรียนรู้การแก้ปัญหาที่สอดคล้องบริบทชีวิตจริง และเตรียมพร้อมสู่การทำงานในอนาคตแห่งการเป็นพลเมืองยุคดิจิทัลที่มีศักยภาพ
12. การทดลองเคมีเสมือนจริง หัวข้อ ปริมาณสารสัมพันธ์ดวงแข ศรีคุณ,
จตุภรณ์ สวัสดิ์รักษา,
ณุจุฑา ธรรมสุเมธ
และ สาโรจน์ บุญเส็ง
วิทยาศาสตร์ม.ปลาย
Virtual Lab เป็นโปรแกรมการทดลองเคมีเสมือนจริง พัฒนาโดย The Chemistry Collective เพื่อส่งเสริมให้ครูเคมีได้ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่สนุกสนานและกระตุ้นให้เกิดการคิดแก้โจทย์ปัญหาด้วยทักษะปฏิบัติการเคมี โจทย์คำถามใน Virtual Lab ส่วนใหญ่เป็นคำถามปลายเปิดที่สามารถคิดหาคำตอบโดยใช้การทดลองหลายรูปแบบ Virtual Lab จึงเป็นเสมือนสื่อที่กระตุ้นให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมการเรียนแบบกลุ่ม ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน สำหรับการประชุมปฏิบัติการนี้คณะวิทยากรเลือกนำเสนอหัวข้อ ปริมาณสารสัมพันธ์ เนื่องจากเป็นหัวข้อที่มีประสบการณ์ตรงในการนำ Virtual Lab มาใช้ประกอบการเรียนการสอน มีตัวอย่างงานของนักเรียน ตัวอย่างสถานการณ์ที่ Virtual Lab เป็นสื่อสะท้อนความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการเลือกใช้อุปกรณ์ปฏิบัติการ ผู้เข้าอบรมจะได้ลองทำการทดลองใน Virtual Lab วิเคราะห์รูปแบบโจทย์การทดลองและกระบวนการคิดในการหาคำตอบ โจทย์การทดลองของ Virtual Lab มีการพัฒนาเพิ่มเติมตลอดเวลา มีทั้งโจทย์ที่มากับโปรแกรม และโจทย์ที่สามารถดาวน์โหลดได้เพิ่มเติมจากเวบไซต์ ผู้เข้าอบรมจะเรียนรู้การปรับเปลี่ยนโจทย์เดิม และการสร้างโจทย์การทดลองใหม่ด้วยตนเองโดยใช้ Virtual Lab Authoring Tool
13. สำรวจโลกเล็กๆ กับกล้องจุลทรรศน์ดิจิทัลแบบพกพา (เลนส์มิวอาย)บุญวิทย์ รัตนทิพยาภรณ์,
สยามชัย สุกใส
วิทยาศาสตร์ประถม/ม.ต้น
ปัจจุบันนี้ มีการนำสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยสนับสนุนในการจัดการเรียนรู้มากขึ้น นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยดึงดูดและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนอีกด้วย เลนส์มิวอายเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจอีกชิ้นหนึ่งที่ สสวท. เห็นว่าจะช่วยสนับสนุนในการจัดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) โดยใช้คู่กับกล้องโทรศัพท์มือถือ สามารถใช้เป็นกล้องจุลทรรศน์ดิจิทัลแบบพกพาได้ ทำให้ผู้เรียนสามารถศึกษา สำรวจสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตขนาดเล็กมากได้

การประชุมปฏิบัติการในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้ทดลองใช้งานกล้องจุลทรรศน์ดิจิทัลแบบพกพา โดยการนำเลนส์มิวอายไปติดกับกล้องโทรศัพท์มือถือเพียงเท่านี้ก็สามารถสำรวจสิ่งต่างๆ ที่มีขนาดเล็กได้ นอกจากนี้ยังจะได้เห็นตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้กล้องจุลทรรศน์ดิจิทัลแบบพกพาเป็นสื่อประกอบที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่แนวการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาอีกด้วย
14. Hands on และ Digital learning เพื่อเรียนรู้การตรวจวัดองค์ประกอบของลมฟ้าอากาศกมลนารี ลายคราม,
ภคมน เนตรไสว
วิทยาศาสตร์ม.ต้น
การทำความเข้าใจลมฟ้าอากาศต้องอาศัยข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศได้แก่ อุณหภูมิอากาศ อุณหภูมิอากาศสูงสุด-ต่ำสุด ความชื้นสัมพัทธ์ อัตราเร็วลม ทิศทางลม ความกดอากาศ ปริมาณฝน และปริมาณเมฆ การตรวจวัดองค์ประกอบลมฟ้าอากศดังกล่าวมีการใช้อุปกรณ์ และวิธีการที่เฉพาะเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ การจัดการเรียนการสอนจึงควรออกแบบให้นักเรียนได้เรียนรู้การใช้อุปกรณ์และวิธีการตรวจวัดที่ถูกต้อง การอบรมเชิงปฏิบัติการ Hands on และ Digital learning เพื่อเรียนรู้การตรวจวัดองค์ประกอบของลมฟ้าอากาศ ออกแบบให้ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้การตรวจวัดองค์ประกอบลมฟ้าอากาศ ผ่านทั้งการลงมือปฏิบัติบนอุปกรณ์จริง (hands on) และการเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิทัล (digital learning) แบบครบวงจรทั้ง การใช้อุปกรณ์ในการตรวจวัดอย่างถูกต้อง การลงมือปฏิบัติ และการประเมินการเรียนรู้โดยอัตโนมัติ โดยผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ทั้งแบบ hands on และ digital learning
15. สอนคณิตศาสตร์ด้วย Microsoft Excelชัยวัฒน์ เนติทวีทรัพย์,
จิราภรณ์ เจริญยิ่ง
คณิตศาสตร์ม.ปลาย
ด้วยฟีเจอร์การคำนวณและแสดงผลที่หลากหลายของโปรแกรม Microsoft Excel เราจึงสามารถใช้ Excel เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อและจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี โดยใน Workshop นี้ ผู้เข้าอบรมจะได้เห็นตัวอย่างพร้อมกับทดลองสร้างสื่อการสอนคณิตศาสตร์ด้วยคำสั่งพื้นฐานของ Excel ซึ่งผู้เข้าอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสื่อและออกแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ด้วย Excel ที่มีความน่าสนใจและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนมากยิ่งขึ้น
16. อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้ GeoGebraดร. อลงกรณ์ ตั้งสงวนธรรม
คณิตศาสตร์ม.ปลาย
ในการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ผู้เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการนำโปรแกรม GeoGebra บูรณาการกับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เช่น ในการจัดการเรียนรู้เรื่อง เมทริกซ์ จำนวนจริง พาราโบลา ความน่าจะเป็น ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนและการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยผู้เข้ารับการอบรมต้องเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และมีพื้นฐานการใช้โปรแกรม GeoGebra
17. สร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบอินโฟกราฟิกดร.เปียทิพย์ พัวพันธ์,
ชัยวัฒน์ เนติทวีทรัพย์
เทคโนโลยี
ม.ปลาย
การจัดการเรียนรู้ คือ การจัดสถานการณ์ สภาพการณ์ หรือกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์อันก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ง่าย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความเจริญงอกงามและพัฒนาการทั้งทางกาย ทางสมอง อารมณ์และสังคม สื่อการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ ครูผู้สอนจำเป็นต้องใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะกับลักษณะของผู้เรียน รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคดิจิทัลที่ชอบศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง สื่อต้องน่าสนใจและดึงดูดความสนใจได้ และการที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็วได้นั้น จำเป็นจะต้องใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสาร ช่วยให้ผู้เรียนจดจำได้ง่าย สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบอินโฟกราฟิก เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่ใช้ในการสรุปและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟิกที่เป็นลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม แผนที่ ที่ออกแบบเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว สามารถสื่อสารให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของข้อมูลได้ง่ายขึ้น

ผู้เข้าอบรมจะได้ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบอินโฟกราฟิก ซึ่งเป็นสื่อที่สามารถเพิ่มศักยภาพในการถ่ายทอดความรู้ได้จริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้อีกด้วย
18. Proof without words:
ความคิดสร้างสรรค์และวิธีการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ และการแยกตัวประกอบพหุนามโดยใช้แผนภาพ 6 ขั้นตอน
นายปรีชากร ภาชนะ
คณิตศาสตร์ม.ต้น
Proof Without Words (PWWs) เป็นการเขียนภาพทางคณิตศาสตร์ มีลักษณะเป็นรูปภาพหรือไดอะแกรมที่ใช้ในการพิสูจน์กฎ ทฤษฎีและสูตรทางคณิตศาสตร์ ไม่ใช่การพิสูจน์ที่ใช้ภาษาที่เป็นทางการ ทั้งนี้ PWWs มีประวัติการใช้พิสูจน์มาเป็นพันปีและมีการนำมาใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์อย่างกว้างขวาง ครอบคลุมสาระคณิตศาสตร์ทุกสาระ อาทิ ตรีโกณมิติ พีชคณิต เรขาคณิต แคลคูรัส เป็นต้น (Bell, 2011: Miller, 2012: Nelsen, 2015) วัตถุประสงค์เพื่อฝึกปฏิบัติการนำ PWWs มาใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาและฝึกปฏิบัติการพิสูจน์สูตรทางคณิตศาสตร์โดยใช้แผนภาพ วิธีการฝึกปฏิบัติการมีขั้นตอนดังนี้ การศึกษาตัวอย่างการพิสูจน์โดยใช้แผนภาพในเอกสารประกอบการอบรม ผู้เข้าร่วมอบรมฝึกและสร้างแผนภาพในการพิสูจน์สูตร กฎและทฤษฎีโดยเรียงจากง่ายไปยาก วิทยากรเสนอตัวอย่างการนำไปใช้จัดการเรียนการสอนและตัวอย่างผลงานของนักเรียน ขั้นสรุปให้ผู้เข้าร่วมอบรมและวิทยากรเสนอแนวทางการนำความรู้และตัวอย่างผลงานที่ได้จากการอบรมไปใช้ ทั้งนี้ประโยชน์ในการนำ PWWs ไปใช้ในการเรียนการสอนช่วยให้นักเรียนหยั่งเห็นการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์สาระพีชคณิตและเรขาคณิต นักเรียนได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์และฝึกการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ผลงานการพิสูจน์สูตรบางสูตรมีการใช้แผนภาพที่แตกต่างกันพิสูจน์สูตรเดียวกันมากกว่า 15 วิธี ซึ่งเป็นความรู้ที่จะนำไปใช้เป็นพื้นฐานการคิดสร้างสรรค์แผนภาพในรูปแบบใหม่ๆ ได้
19. การแบ่งปันประสบการณ์การเรียนการสอนสะเต็มศึกษาProf. Tairo Nomura
และ Rie Atagi
วิทยาศาสตร์ม.ปลาย
This workshop will give you an opportunity to share the experience of teaching and learning STEM education. STEM education is an integrated approach in the field of science, technology, engineering and mathematics. It aims at the application of knowledge to real-life problem solving and development of new products or procedures benefitting daily living and livelihood. In this workshop, we will explore how we can implement this ideal into practice.

In this workshop, participants will experience how lesson study is conducted in Japan’s teacher training. Video presentation of some actual classroom teaching will be given and how to improve their approach and where difficulties lie will be discussed. Participants will be able to share their teaching experience and mutually learn how to improve their teaching.

This is a part of Thailand-Japan collaborative research for STEM education. The presentators participated in STEM workshop provided by Prof. Tairo Nomura at Saitama STEM Education Research Center in Japan, funded by Sakura Science Plan by JST. His workshop focused on developing thinking skills using programming for STEM education. After 10 days workshop in Japan, the participants return to their schools and have been practicing their STEM education. IPST team with Prof. Nomura have visited their schools to observe their classroom teaching and advices were given to improve their teaching. You can share their learning experience to promote STEM education.

The workshop will be conducted in Thai and English. (Simultaneous translation)
20. สนุกกับหุ่นยนต์ IPST-MicroBOX SE นายวรณัฐ หมีทอง, นายเทเวศร์ ม่วงพลับเทคโนโลยีประถม
IPST-MicroBOX เป็นชุดแผงวงจรเอนกประสงค์ที่ใช้อุปกรณ์ควบคุมแบบโปรแกรมได้ขนาดเล็กที่เรียกว่า “ไมโครคอนโทรลเลอร์” ซึ่งได้นำมาใช้ในการเรียนรู้การทดลองและพัฒนาโครงงานทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบควบคุมอัตโนมัติหรือแม้กระทั่งการนำมาใช้ในการสอนในรายวิชาหุ่นยนต์ กิจกรรมหุ่นยนต์เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เนื้อหาในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คณิตศาสตร์และวิศวกรรม และในปีการศึกษา 2559 รัฐบาลได้มีนโยบายให้ความสำคัญกับการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐานในการพัฒนาประเทศ โดยขับเคลื่อนการจัดการศึกษาในรูปแบบ STEM สู่โรงเรียน เพื่อมุ่งผลิตกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ และสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีใหม่ (Tech startup) โดยเน้นให้เด็กและเยาวชนกล้าคิด กล้าแสดงออกในทางที่สร้างสรรค์ และปลูกฝังให้เยาวชนรู้สึกรักการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อนำไปต่อยอดสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการต่อไป เพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของสะเต็มศึกษา และสอดคล้องกับกิจกรรมสะเต็มศึกษาในโรงเรียน สนองต่อการดำเนินงานตามแนวนโยบายของรัฐบาล ผู้จัดการอบรมจึงได้จัดกิจกรรม สนุกกับหุ่นยนต์ IPST-MicroBOX SE โดยใช้ชุดกล่องสมองกล IPST-Microbox เป็นสื่อกลางในการนำความรู้มาใช้สำหรับแก้ปัญหาตามสถานการณ์สมมติ อันจะนำไปสู่ทักษะการแก้ปัญหาซึ่งเป็นทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 ต่อไป
21. สื่อการสอนสำหรับครูคณิตศาสตร์ 4.0ภีมวัจน์ ธรรมใจ, อุษณีย์ วงศ์อามาตย์คณิตศาสตร์ประถม
การนำเสนอสื่อประกอบการสอนสำหรับครูคณิตศาสตร์ในยุค 4.0 ที่จำเป็นจะต้องจัดกิจกรรมให้นักเรียนนั้นมีทักษะเพียงพอสำหรับการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยใช้สื่อดิจิทัล โปรแกรม เว็บไซต์ app ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ มาช่วยในการจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ นักเรียนสนุกกับการเรียนรู้ สมกับการเป็นครูคณิตศาสตร์ 4.0
22. Computer Science Unplugged: เรียนคอมฯ โดยไม่ใช้เครื่องคอมฯจินดาพร หมวกหมื่นไวย, วชิรพรรณ ทองวิจิตรเทคโนโลยีประถม/ม.ต้น
Computer science unplugged เป็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์โดยไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ เข้าใจหลักการและทฤษฎี ผ่านการแก้ปัญหาด้วยเกมหรือโจทย์ปัญหาที่สนุก เข้าใจง่าย และท้าทายให้หาคำตอบ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ หรือเป็นความรู้พื้นฐานในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การประชุมปฏิบัติการนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้แนวทางในการออกแบบกิจกรรม ฝึกแก้โจทย์ปัญหา แนะนำเว็บไซต์ และการปรับรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพร้อมรับกับหลักสูตรใหม่
23. การจัดการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือไอซีทีฟรีและน่าใช้ ศิลปเวท คนธิคามี,
สุประดิษฐ์ รุ่งศรี
วิทยาศาสตร์ประถม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้้าร่วมอบรมสามารถนำกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือไอซีทีไปใช้ในการเรียนการสอนได้ รวมถึงความรู้เรื่องการเลือกใช้เครื่องมือ ICT มาออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อีกด้วย ระหว่างอบรมเชิงปฏิบัติการผู้เข้าร่วมอบรบจะได้เรียนรู้การใช้งานและทดลองใช้เครื่องมือ ICT เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ อย่างเช่น สร้างคำถามเพื่อเข้าสู่บทเรียนด้วย Kahoot! สร้างกระดานเพื่อระดมความคิดด้วย Padlet กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย Plickers เป็นต้น นอกจากนี้ผู้เข้าอบรมจะได้มีโอกาสได้สร้างสื่อ โดยใช้เครื่องมือ ICT ที่ฟรีและน่าใช้เหล่านี้ ด้วยตนเอง
24. สื่อไม้คูซิแนร์ชวนคิด เก่งคณิตกับแท่งไม้หลากสี ดร.รัชนีกร ชลไชยะ คณิตศาสตร์ประถม
สื่อแท่งไม้คูซีแนร์ เป็นสื่อการเรียนรู้ชนิดหนึ่งสำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาที่ถูกคิดค้นโดยครูสอนดนตรีชาวเบลเยียม จอร์จ คูซีแนร์ โดยสื่อนี้เป็นแท่งไม้ชิ้นเล็ก ๆ ที่มีขนาดแตกต่างกัน 10 ขนาด และมีสีสันที่แตกต่างกันทั้งหมด 10 สี และในเวลาต่อมา ศาสตราจารย์คาเล็บ แก็ตเต็กโน่ ก็ได้ศึกษาวิธีการใช้แท่งไม้จนทำให้เกิดรูปแบบการสอนแนวใหม่

ในการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จะเป็นการนำเสนอเทคนิคการสอนตั้งแต่การสร้างความรู้สึกเชิงจำนวน กิจกรรมเกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณ และ การหาร รวมไปถึง การหา ห.ร.ม. และ ค.ร.น. อีกทั้งตัวอย่างกิจกรรมการแก้ปัญหาผ่านการใช้สื่อแท่งไม้คูซีแนร์นี้ ตามแนวคิดของศาสตราจารย์คาเล็บ แก็ตเต็กโน่
25. การศึกษาสมบัติของของเหลวโดยใช้แบบจำลองอย่างง่าย
วันชัย น้อยวงศ์,
ณัฐธิดา พรหมยอด
วิทยาศาสตร์ประถม
การศึกษาเรื่องสมบัติของของเหลว ผู้สอนส่วนใหญ่มักประสบปัญหาในการจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอน และในบางครั้งสื่อที่จัดทำขึ้นมาก็อาจไม่มีประสิทธิภาพ แบบจำลองศึกษาสมบัติของของเหลวที่ สสวท. พัฒนาขึ้นมานี้อยู่บนพื้นฐานงานวิจัย ใช้เพื่อเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับสมบัติบางประการของของเหลว เช่น รูปร่างของของเหลว การไหลจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำของของเหลว การครอบครองพื้นที่ว่างในภาชนะของของเหลว และการรักษาระดับผิวหน้าของของเหลวในแนวราบ ผู้สอนสามารถนำแบบจำลองศึกษาสมบัติของของเหลวไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยการสาธิตหรือให้นักเรียนลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองเพื่อให้การเรียนการสอนเรื่องนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
26. การสร้างความคิดรวบยอดและกลวิธีการคิดเกี่ยวกับการบวกและการลบ ดร.ภัทรวดี หาดแก้ว, ณัตตยา มังคลสิคณิตศาสตร์ประถม
ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ การสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดเนื่องจาก
ถ้าผู้เรียนมีความเข้าใจในความคิดรวบยอดอย่างลึกซึ้งแล้วนั้น ผู้เรียนจะสามารถประยุกต์ใช้ความเข้าใจความคิดรวบยอดไปสร้างกลวิธีการคิด ต่อยอดกลวิธีการคิดไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ความเข้าใจไปสู่การแก้ปัญหาได้ ซึ่งในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์สามารถทำได้โดยเชื่อมโยงจากบริบทและภาษาที่ใช้ในสถานการณ์จริงควบคู่ไปกับการใช้สื่อไปสู่การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ โดยในทุกๆ ขั้นตอนของการเรียนรู้ ผู้เรียนควรจะได้ใช้ทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหา การให้เหตุผล และการคิดสร้างสรรค์

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ ผู้เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้บทบาทของการใช้ภาษา สื่อ และสัญลักษณ์ในการสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการบวกและการลบ อีกทั้งยังได้แนวทางในการสร้างกลวิธีการคิดเกี่ยวกับการบวกและการลบ
การต่อยอดกลวิธีการคิดไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ความเข้าใจไปสู่การแก้ปัญหาได้
27. การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในห้องเรียน นพรัตน์ ศรีเจริญ บูรณาการม.ต้น
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในนักเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่นอกจากจะทำให้นักเรียนคิดนอกกรอบแล้ว ยังทำให้นักเรียนเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ในกิจกรรมปฏิบัติการครั้งนี้จะมีการอธิบายถึงปัญหาที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในปัจจุบัน จากนั้นจะเป็นการบรรยายเกี่ยวกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ อาทิเช่น School Wide Enrichment Model ของ Renzulli และ Multiple Intelligences ของ Howard Garner เป็นต้น บุคลิกลักษณะของผู้มีความคิดสร้างสรรค์ การวัดและประเมินความคิดสร้างสรรค์ในห้องเรียน และจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียน หลังจากนั้นผู้เข้ารับการอบรมจะได้มีโอกาสฝึกทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับการตั้งคำถาม ตามแนวคิดของ Divergent Thinking รวมถึงการตั้งเกณฑ์ในการวัดความรู้ และความคิดสร้างสรรค์จากคำถามดังกล่าว มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการตั้งคำถาม และเกณฑ์ ร่วมกัน เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความมั่นใจการในการนำความคิดสร้างสรรค์ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนต่อไป
28. สร้างสื่อ Gamebook อย่างง่าย ปลอดภัย ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ นวพล กาบแก้ว
จิรวัฒน์ นิยะมะ
เทคโนโลยีประถม/ม.ต้น
การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคนิค Gamification และแนะนำวิธีการสร้างสื่อการเรียนรู้อย่างง่าย ด้วย Google Slide ในรูปแบบ Gamebook ซึ่งสามารถบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมในการเรียนการสอน และวิธีการสืบค้นสื่อดิจิทัลอย่างปลอดภัยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยการสืบค้นผ่าน Google Advanced Search เพื่อนำมาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
29. การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ดร.ณัฐธิดา พรหมยอด
และ ดร.วันชัย น้อยวงศ์
วิทยาศาสตร์ประถม
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการในการศึกษาค้นคว้า สืบเสาะหาความรู้ และแก้ปัญหาต่าง ๆ จึงมีความสำคัญทั้งต่อครูผู้สอนที่ต้องเน้นย้ำในการจัดการเรียนสอนทางวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนหรือต่อตัวผู้เรียนในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว

การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้เน้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นหาคำตอบหรือแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ทั้งทักษะขั้นพื้นฐาน เช่น การสังเกต การพยากรณ์ การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล และทักษะขั้นผสม เช่น การกำหนดและควบคุมตัวแปร การทดลอง การสร้างแบบจำลอง โดยผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา รวมถึงมุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อแก้ปัญหาและสื่อสารความเข้าใจของตนเองในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้แบบจำลองหรือการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนได้
30. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องแรงพยุง
ผ่านกระบวนการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ สำหรับครูที่ไม่จบวิชาเอกฟิสิกส์
ดร.ณัฐธิดา พรหมยอด,
ดร.เบ็ญจวรรณ หาญพิพัฒน์,
ดร.กวิน เชื่อมกลาง และศุภณัฐ คุ้มโหมด
วิทยาศาสตร์ม.ต้น
ปัญหาที่มักพบส่วนใหญ่ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เนื้อหาฟิสิกส์สำหรับครูระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับครูที่ไม่จบวิชาเอกฟิสิกส์ คือ ความไม่มั่นใจในเนื้อหาและกระบวนการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาฟิสิกส์

ตัวอย่างกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์เรื่องแรงพยุง ซึ่งเป็นเนื้อหาที่สอนทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเน้นการแก้ไขแนวคิดคลาดเคลื่อนผ่านกระบวนการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ที่ใช้หลักฐานมาสนับสนุนข้อกล่าวอ้าง โดยจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์และอภิปรายโต้แย้งกันบนพื้นฐานของหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดอย่างเป็นระบบและคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปหรือความเข้าใจที่ถูกต้องทางวิทยาศาสตร์
31. แนวทางการสอนการคูณและการหารให้เข้าใจ สมเกียรติ เพ็ญทอง,
สุรัชน์ อินทสังข์
คณิตศาสตร์ประถม
การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ การสอนการคูณ และ การสอนการหาร โดยวิทยากรจะนำเสนอแนวทางการสอนที่ไม่เน้นการท่องสูตรคูณ แต่จะเน้นความเข้าใจ ค่อย ๆ สร้างความคุ้นชินกับ multiplication fact ต่าง ๆ ผ่านสื่ออย่างง่ายและการฝึกฝนปฏิบัติ
32. เติมเต็ม...เศษส่วนเบญจมาศ เหล่าขวัญสถิตย์,
อุษณีย์ วงศ์อามาตย์
คณิตศาสตร์ประถม
ในปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนเรื่องเศษส่วนในระดับประถมศึกษา นิยมใช้สื่อรูปธรรมในการสร้างความเข้าใจ และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเศษส่วนที่เป็นนามธรรม สื่อที่ใช้ประกอบการสอนเศษส่วนมีรูปแบบที่หลากหลาย ผู้สอนควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหา สร้างความคิดรวบยอดที่ถูกต้องให้กับผู้เรียน และช่วยแก้ปัญหาความเข้าใจคาดเคลื่อน ของผู้เรียน การอบรมครั้งนี้เป็นการนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนเรื่องเศษส่วนโดยที่เป็นลำดับขั้น การเลือกใช้ สื่อการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหา เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สอนได้นำไปใช้และพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธภาพยิ่งขึ้น
33. การประยุกต์ใช้เครื่องมือออนไลน์เพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ในห้องเรียนดร.อธิพงศ์ สุริยา,
ดร.ศศิวรรณ เมลืองนนท์
เทคโนโลยีม.ต้น
การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ นำเสนอการประยุกต์เครื่องมือออนไลน์ต่าง ๆ ที่มีให้ใช้งานฟรีบนอินเตอร์เน็ต เพื่อจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ (Creative Learning) สร้างความน่าสนใจ ความสนุกสนานในการเรียนการสอน (Edutainment) และส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) เครื่องมือออนไลน์ต่าง ๆ ที่นำเสนอประกอบด้วย เครื่องมือช่วยจัดการเรียนการสอน ได้แก่ Google Classroom, Courseville และ Cloud Classroom (pro.ccr.tw) เครื่องมือในการวัดผลการเรียนรู้ ได้แก่ Plickers และ Kahoot เครื่องมือในการเช็คชื่อและเช็คการส่งงาน ได้แก่ Plickers และ Google Sheet เครื่องมือให้นักเรียนมีส่วนร่วมตอบคำถาม ได้แก่ Google Form และ Random Name Pickers และกิจกรรมเสริมอื่นๆ ในชั้นเรียน เช่น การบริหารสมอง (Brain Testing) เป็นต้น โดยรูปแบบการจัดการอบรมเป็นลักษณะการบรรยายและการจำลองสถานการณ์การเรียนการสอนในชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมทั้งได้ลองใช้งานเครื่องมือออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงกับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (Science, Mathematics and Technology)
34. กิจกรรมเสริมสร้างอัจฉริยะวิทย์ สนุกทำ สนุกคิด ระดับประถมศึกษารัชดา ยาตรา และคณะวิทยาศาสตร์ประถม
การปลูกฝังให้เยาวชนระดับประถมศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ให้ได้มีความรู้ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างลึกซึ้ง มีทักษะกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จะส่งผลให้เยาวชนเติบโตเป็นคนไทยที่มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศและชุมชนที่อยู่อาศัยของเขาในอนาคต

การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จะนำเสนอกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ในลักษณะเดียวกันกับกิจกรรมจากโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของ สสวท. เช่น กิจกรรมวัสดุเอยทำไมจึงร้อง เปลี่ยนแม่เหล็กเป็นMaglev ร่อนลงสู่ดวงจันทร์ นั่งร้านจอมพลัง ฯลฯ ซึ่งเหมาะสำหรับนักเรียนและครูระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และเป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ผ่านการลงมือปฏิบัติ เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีคิดแบบเด็กๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจไปสู่การเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น
35.การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานรัชดา ยาตรา,
สุรัชน์ อินทสังข์
คณิตศาสตร์ประถม
การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ แบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงแรกเป็นกิจกรรม hands-on คณิตศาสตร์สร้างสรรค์
ซึ่งผู้เข้าร่วมการอบรมจะได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มและรายบุคคล ช่วงที่สองเป็นการแบ่งปันประสบการณ์จากการวิเคราะห์แนวคิดการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนในโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพฯ ช่วงที่สามเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานกับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ อภิปรายถึงตัวอย่างที่ดี (best practice) ของการส่งเสริม อุปสรรคปัญหา และแนวทางการแก้ไข
36. การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ทางคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ดร.รุ่งฟ้า จันท์จารุภรณ์ คณิตศาสตร์ประถม/ม.ต้น
วัตถุประสงค์ของการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ คือ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ (Creative Thinking) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ผ่านการแก้ปัญหา (Problem solving) และการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ (Problem posing) และแนวทางการประเมินผลที่คำนึงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ตลอดจนลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเอง (learning by doing) และลงมือปฏิบัติออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเอง

ในการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ ผู้เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้แนวคิดเกี่ยวกับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ผ่านการแก้ปัญหาและการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแนวทางการประเมินผลที่คำนึงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ได้เห็นตัวอย่างประกอบการเรียนรู้ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเอง (learning by doing) ตามขั้นตอนการพัฒนาความคิดที่นำไปสู่ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคย (non-routine problem) ซึ่งเป็นปัญหาที่มีมากกว่าหนึ่งคำตอบและสามารถแก้ปัญหาได้มากกว่าหนึ่งกลยุทธ์ ตลอดจนได้ ตลอดจนลงมือปฏิบัติออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
37. การประยุกต์ใช้เครื่องคำนวณวิทยาศาสตร์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ นายนนทวัฒน์ อิ่มสม-สมบูรณ์คณิตศาสตร์ม.ต้น/ม.ปลาย
การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

โดยมีวิธีดำเนินการดังนี้
1) นำเสนอความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์
2) แนะนำการใช้งานเครื่องคิดเลขเบื้องต้น การดำเนินการต่าง ๆ
3) ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องคิดเลขในการหา ห.ร.ม. ค.ร.น. และ จำนวนเฉพาะ
4) ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องคิดเลขในการคำนวณเกี่ยวกับฟังก์ชันตรีโกณมิติ ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม
5) ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องคิดเลขในการคำนวณเกี่ยวกับเมทริกซ์ และเวกเตอร์
6) ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องคิดเลขในการคำนวณเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค่าทางสถิติ
7) นำเสนอตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เครื่องคิดเลข
8) ให้ผู้เข้าร่วมการอบรมได้ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องคิดเลขผ่านกิจกรรมกลุ่ม
38. การออกแบบกิจกรรมสะเต็มศึกษาที่เหมาะสมกับศักยภาพผู้เรียน ผศ. ดร. ฉลองชัย ธีวสุทรสกุลบูรณาการประถม/ม.ต้น
การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อบรมได้เรียนรู้และฝึกฝนการออกแบบกิจกรรมสะเต็มศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งผู้อบรมสามารถนำกลับไปใช้ออกแบบกิจกรรมสะเต็มศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทการเรียนการสอนของตนเอง รองรับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมหรือไทยแลนด์ 4.0 โดยกิจกรรมสะเต็มศึกษาที่ออกแบบจะอิงการเรียนการสอนแบบปัญหาเป็นฐาน(Problem based learning) เพราะเหมาะสมกับบริบทการสอนของครูไทยที่สุด ขั้นตอนการออกแบบมี 6 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดสถานการณ์ปัญหาที่ท้าทายเหมาะสมกับบริบทผู้เรียน 2) จัดเตรียมความรู้ที่ใช้อธิบายและออกแบบการแก้ปัญหา 3) ทดลองแก้ปัญหาและปรับปรุงสถานการณ์ปัญหา ซึ่งแบ่งย่อยเป็น 3.1 วิเคราะห์หาปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการออกแบบ 3.2 วิเคราะห์การส่งผลกระทบระหว่างปัจจัยในลักษณะแผนภาพความสัมพันธ์เชิงเหตุผล 3.3 วิเคราะห์แนวการแก้ปัญหาหรือวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ 4) กำหนดวิธีวัดและประเมินผล 5) ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนหรือแผนการตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม และ 6) นำกิจกรรมสะเต็มศึกษาไปทดลองสอนและปรับปรุง ตามลำดับ

ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ควบคู่กับการปฏิบัติ สามารถนำไปออกแบบกิจกรรมสะเต็มศึกษาในรายวิชาที่ตนเองสอน ได้เหมาะสมกับศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน รวมถึงบริบทการดำรงชีวิตของนักเรียนและการศึกษาของโรงเรียน นำมาซึ่งการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
39. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องแรงจากอากาศและลม ที่เน้นการอ่าน คิด สู่การแก้ปัญหาแบบสะเต็มศึกษาดร. กุศลิน มุสิกุล,
ดร.เบ็ญจวรรณ หาญพิพัฒน์
และ นางสาวรตพร หลิน
วิทยาศาสตร์ประถม
การจัดการเรียนรู้ระดับประถมศึกษาโดยฝึกการอ่าน เขียน และการคิดอย่างมีเหตุมีผลรวมทั้งสามารถนำความรู้ที่มีไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้ถือเป็นทักษะพื้นฐานที่ต้องเน้นกับนักเรียนระดับประถมศึกษา เพื่อให้นักเรียนมีพร้อมสำหรับการเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้ออกแบบสื่อหนังสือเรียนเพื่อส่งเสริมการอ่าน การคิดและการแก้ปัญหาในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้จะนำเสนอตัวอย่างการจัดกิจรรมในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ที่เน้นการอ่านจับใจความสำคัญการคิดให้เหตุผล รวมถึงการคิดวิเคราะห์จากการอ่านและจากการทำกิจกรรมการให้เหตุผลโดยอาศัยหลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุน รวมถึงการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการสะเต็มซึ่งใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ผนวกกับคณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และกระบวนการทางวิศวกรรมได้อย่างเป็นระบบโดยใช้ตัวอย่างกิจกรรมในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เกี่ยวกับอากาศและสมบัติของอากาศ

กิจกรรมนี้คาดหวังให้ครูวิทยาศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการฝึกทักษะการอ่านและการคิดที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของนักเรียนต่อไปนอกจากนี้ยังทำให้เห็นแนวการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาที่สามารถบูรณาการเข้ากับการสอนในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ได้
40. เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรษที่ 21 สุณิสา สมสมัย, วิมลมาศ ศรีนารางวิทยาศาสตร์ประถม
เทคโนโลยีเป็นการประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผ่านคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ตโฟน ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ที่จะนำเสนอประกอบด้วยเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่ใช้สำหรับการวัดและการประเมินผล การสร้างแบบสำรวจความคิดเห็น และแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น การใช้สื่อวิทยาศาสตร์แบบสื่อดิจิทัลแสดงผลเสมือนจริง (Augmented Reality หรือ AR) เทคโนโลยีเหล่านี้อาจมีทั้งภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และวีดิทัศน์ รวมถึงการสร้างสถานการณ์เสมือนจริง ซึ่งล้วนมีส่วนช่วยกระตุ้นความสนใจ และสร้างความสนุกสนานในการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งสิ้น
41. การพัฒนาความเป็นผู้นำทางวิชาการด้วยกระบวนการ PLCบริษัท เชฟรอน
ประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด
วิทยาศาสตร์ประถม/ม.ต้น/ม.ปลาย
ความเป็นผู้นำทางวิชาการ (Academic Leadership) ถือเป็นคุณลักษณะสำคัญสำหรับผู้มีส่วนในการขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพทางการศึกษา องค์ประกอบสำคัญในการผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพในสถานศึกษาคือ ผู้บริหารและครูผู้สอน หลักสูตรหรืออุปกรณ์การเรียนรู้ และนักเรียน การขับเคลื่อนองค์ประกอบเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายส่วน ระบบการติดตามที่มีประเด็นชัดเจนในการช่วยเหลือสนับสนุน รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การร่วมมือกันในการออกแบบ สะท้อนผลและปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional learning Community) จึงเปรียบเสมือนเวทีสำหรับครูผู้สอนที่จัดการเรียนการสอนในสาระเดียวกัน ศึกษานิเทศก์ ครูผู้มีประสบการณ์ได้มาร่วมพูดคุยกันเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและสอดรับกับศักยภาพของเด็กอย่างแท้จริง การสังเกตห้องเรียน (Classroom Observation) เพื่อร่วมศึกษาประเด็นการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ต้องการแก้ไข รวมถึงถอดแนวปฏิบัติที่ทำได้ดีเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่ม การวิเคราะห์ภาระงานนักเรียน (Reviewing Student work) อันถือเป็นอีกประจักษ์พยานหลักฐานสำคัญที่สะท้อนการเรียนรู้ของนักเรียน PLC จึงถือเป็นกลไกหนึ่งที่ทีมครูผู้สอนได้ร่วมกันปรับปรุงแนวทางจัดการเรียนรู้ให้เหมาะกับระดับการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้อีกด้วย
42. การหาระยะทางทางดาราศาสตร์นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์วิทยาศาสตร์ม.ปลาย
ดาราศาสตร์ (Astronomy) เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ทำการสังเกตการณ์ท้องฟ้า วัตถุท้องฟ้า และปรากฏการณ์ที่เกิดขั้นบนท้องฟ้า เพื่อกำหนดตำแหน่งวัตถุบนท้องฟ้า รวมไปถึงการสร้างปฏิทินเพื่อกำหนดและพยากรณ์สภาพอากาศซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสมัยนั้น ความท้าทายอย่างหนึ่งของนักดาราศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั่นก็คือ ความพยายามที่จะรู้ให้ได้ว่าวัตถุท้องฟ้าที่เราสังเกตเห็น ไม่ว่าจะเป็นดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ รวมไปถึงกาแล็กซี มีระยะทางเชิงลึกอย่างไร ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อจำกัดอย่างหนึ่งว่า “มนุษย์ไม่สามารถเดินทางออกไปไกลจากโลกใบนี้ได้”

กิจกรรมการหาระยะทางทางดาราศาสตร์ (Astronomical Distance Measurment) เป็นกิจกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ถึงกระบวนการศึกษาทางดาราศาสตร์ โดยเฉพาะในเรื่องของการหาระยะทางเชิงลึกทางดาราศาสตร์ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจถึงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง โดยกิจกรรม Workshop จะดำเนินด้วยกิจกรรมกลุ่มย่อย โดยผู้เข้าร่วมในแต่ละกลุ่มจะได้ลงมือปฏิบัติจริง มีการวางแผนการดำเนินงาน สร้างแนวคิดและทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อนำไปสู่การหาคำตอบโดยใช้กระบวนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับแนวคิดและกระบวนการศึกษาและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนในเรื่อง ระยะทางทางดาราศาสตร์ ได้อย่างเหมาะสม
43. ปฏิบัติการสะเต็มอย่างเต็มรูปแบบ จุดประกายความคิดสู่ระดับท้องถิ่นTexas Instruments เทคโนโลยีม.ต้น
สะเต็มที่สามารถพัฒนาการเรียนการสอนในระดับท้องถิ่น โดยเน้นให้ผู้เรียนได้ความรู้และสามารถ
นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยผ่านรูปแบบของกิจกรรมที่ใช้เทคโนโลยี จากประเทศสหรัฐอเมริกา มาเป็น
องค์ประกอบสำคัญ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้จะมีเครื่อง Graphing Calculator TI-Nspire CX
CAS ควบคู่กับ TI-Innovator เพื่อก่อให้เกิดกระบวนการทางความคิดอย่างเต็มรูปแบบ (STEM
Education)
44. กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์วิทยาศาสตร์ม.ปลาย
โยฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler) นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้ที่ทำการศึกษาและสังเกตการณ์ร่วมกับอาจารย์ ไทโค บราฮี (Tycho Brahe) ซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์ที่นับว่ามีการสังเกตการณ์ด้วยตาเปล่าที่แม่นยำที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีมา ไทโค สามารถทำการสังเกตการณ์และวัดมุมปรากฏหรือมุมห่างจากดวงอาทิตย์ (Elongation) ของวัตถุท้องฟ้าได้อย่างแม่นยำ และถือว่ามีข้อมูลครบถ้วนและสมบูรณ์มากพอ จนกระทั่งลูกศิษย์ โยฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler) ได้นำข้อมูลมุมห่างจากดวงอาทิตย์ (Elongation) มาวิเคราะห์ และลองพล็อตตำแหน่งของดาวเคราะห์แต่ละดวงจนกระทั่งทำให้เคปเลอร์ได้ข้อสรุปออกมาเป็นกฏของเคปเลอร์ที่เราเข้าใจในปัจจุบัน

กิจกรรมกฏการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ (Kepler’s Law) เป็นกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมได้เรียนรู้กระบวนการและวิธีการศึกษาของเคปเลอร์ การสังเกตการณ์ การคัดเลือกข้อมูลจากการศึกษา และการใช้คณิตศาสตร์พื้นฐานในการพล็อตตำแหน่งของดาวเคราะห์ โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยข้อมูลและอุปกรณ์ในรูปแบบเดียวกันกับที่เคปเลอร์ใช้ศึกษา ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เข้าใจถึงที่มาของการศึกษาจนสามารถสร้างเป็นกฎการเคลื่อนที่ของเคปเลอร์ได้อย่างถูกต้อง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างเหมาะสม
45. สื่อการจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาดร.กนิษฐา เชาว์วัฒนกุลคณิตศาสตร์ประถม
หลักการในการสร้างสื่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สิ่งที่ครูจะต้องคำนึงถึงคือ ครูจะต้องออกแบบสื่อการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย เหมาะสมกับผู้เรียน คำนึงถึงประโยชน์ที่จะนำสื่อการจัดการเรียนรู้ไปใช้งาน สื่อการจัดการเรียนรู้ที่ดีควรสามารถนำไปใช้ได้ง่าย คำนึงถึงความคุ้มค่าทั้งด้านงบประมาณและเวลาให้เหมาะสม การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เน้นการระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างครูผู้สอนและทีมวิทยากร ตลอดจนการฝึกปฏิบัติสร้างสื่อการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น การทำ pop-up เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน การออกแบบกิจกรรมเกมจากสื่อลูกเต๋า หรือสื่อวัสดุประดิษฐ์แบบง่าย การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบง่ายในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ ตลอดจนการออกแบบและสร้างเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
วันที่ต้องการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ
46. สะเต็มศึกษากับการจัดค่ายพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ผศ.ดร.แสงเดือน เจริญฉิม และคณะบูรณาการ-
การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เป็นการบูรณาการสาระ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความหมาย สามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ในบริบทจริงได้ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 5 ประการได้แก่ 1) เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ 2) สอนเชื่อมโยงเนื้อหากับชีวิตประจำวัน 3) เน้นกระบวนการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 4) นักเรียนได้รับโอกาสในการแสดงออกด้านความคิดเห็นอย่างเต็มความสามารถ และ 5) สถานการณ์ปัญหากระตุ้นท้าทายความคิดของนักเรียน การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มุ่งเน้นการนำหลักการทั้ง 5 ประการมาใช้ในการออกแบบกิจกรรมสำหรับจัดกิจกรรมค่ายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น การจัดกิจกรรมค่ายมุ่งเพื่อการพัฒนาเจตคติที่ดีต่อการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ และส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของวิชาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับศาสตร์ในอีก 3 สาขาวิชาที่จำเป็นต่อการใช้ในชีวิตประจำวัน
47. การสอนดาราศาสตร์ในศตวรรษที่ 21ผศ.ดร.สุวิทย์ คงภักดีวิทยาศาสตร์ม.ปลาย
ดาราศาสตร์เป็นวิชาที่มีลักษณะนามธรรมยากต่อการทำความเข้าใจ นอกจากนี้ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์มักจะสังเกตได้ในเวลากลางคืนและมีวัฏจักรที่ยาวนาน ทำให้นักเรียนไม่สามารถทำการสังเกตได้ในเวลาเรียนปกติ ครูผู้สอนจึงควรนำโปรแกรม แอพลิเคชัน และอินเทอร์เน็ตมาใช้เป็นสื่อประกอบการสอนเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาดาราศาสตร์ได้ง่ายยิ่งขึ้น และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะการเรียนรู้เยี่ยงนักวิทยาศาสตร์
48. การเรียนรู้ การเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอโดยปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอร์เรส ด้วยแบบจำลองและสถานการณ์จำลองดร. อรุณรัศมิ์ วณิชชานนท์วิทยาศาสตร์ม.ปลาย
วิชาพันธุศาสตร์เป็นเสมือนยาขมสำหรับผู้เรียนส่วนใหญ่ เพราะเป็นวิชาที่ผู้เรียนมองว่ายากเนื่องจากเนื้อหามีความซับซ้อนและเป็นนามธรรม โดยเฉพาะดีเอ็นเอซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต ในปัจจุบันการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านนี้เป็นไปอย่างรวดเร็วและแพร่หลาย ดังเช่น เทคนิคการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอโดยปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรส ในด้านการแพทย์ เช่น การตรวจสอบโรค การเพิ่มปริมาณยีนเพื่อที่จะนำมาศึกษาและการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ การจัดการเรียนรู้เรื่องการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอโดยปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรส โดยใช้แบบจำลองและสถานการณ์จำลองในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอโดยปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรสอย่างถูกต้อง กิจกรรมประกอบด้วยการใช้สถานการณ์จำลองในห้องเรียนเสมือนในหลอดทดลองของเครื่องพีซีอาร์ร่วมกับแบบจำลองดีเอ็นเอบนแผ่นแม่เหล็ก ส่งผลให้ผู้เข้าอบรมสามารถจัดการเรียนรู้เรื่องการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอโดยปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอร์เรสในระดับมัธยมศึกษา โดยใช้สื่อและกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกที่เหมาะสมกับระดับและสถานการณ์ปัจจุบัน
49. โปรแกรมประยุกต์สารสนเทศภูมิศาสตร์ในลักษณะ Cloud ด้วย ArcGIS Online (ESRI Thailand) นางวิลาสลักษม์ วงศ์เยาว์ฟ้าเทคโนโลยีม.ต้น/ม.ปลาย
บริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาในระดับประถมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลักสูตรวิชาภูมิศาสตร์ และกลุ่มวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ซึ่งความสามารถของผลิตภัณฑ์ ArcGIS เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยพัฒนารูปแบบการศึกษาของประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพและมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น เป็นการสนับสนุนการประยุกต์ใช้ข้อมูลทางภูมิศาสตร์สำหรับการพัฒนาและการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศให้แก่นักเรียนนำความรู้พื้นฐานและทักษะไปต่อยอดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างกว้างขวาง และที่สำคัญยังสอดรับกับนโยบายที่ทางกระทรวงศึกษาธิการจะทำการปรับหลักสูตรแกนกลางอีกด้วย
50. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการปฐมวัยเทพกัญญา พรหมขัติแก้ว และคณะวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจ สามารถจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนวัยก่อนประถมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล โดยจะเน้นกิจกรรมที่ช่วยให้ครูผู้เข้ารับการอบรมได้มีความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และแนวคิดหลักของเนื้อหาสาระในแต่ละกิจกรรม ผู้เข้าประชุมจะได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมและพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนระดับปฐมวัยที่เหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการของวัย รวมทั้งยังเป็นการวางพื้นฐานแนวคิดทักษะและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 อย่างมีประสิทธิภาพ
51. วิศวกรน้อยสร้างรถไฟพลังงานแม่เหล็กนุศวดี พจนานุกิจ และ ตรีสุคนธ์ ตรีบุพชาติสกุลเทคโนโลยีม.ต้น
วิศวกรน้อยสร้างรถไฟพลังงานแม่เหล็ก เป็นการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ผ่านกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งเป็นการนำความรู้ในเรื่องแม่เหล็ก (Magnets) มาสร้างแบบจำลองรถไฟพลังงานแม่เหล็ก โดยนำหลักการของการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนมาช่วยในการค้นหา วิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกและน่าเชื่อถือ และเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงกันระหว่างกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยใช้กิจกรรมดังกล่าว เป็นสื่อในการดำเนินการทำงานแก้ปัญหาผ่านกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนุก ความสนใจ และความกระตือรื้อร้นในการเรียนรู้ ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ และการแข่งขัน ที่ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาการเรียนรู้ ที่การสื่อสาร การทำงานร่วมกันผู้อื่น การคิดวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการในการทำกิจกรรม โดยขั้นตอนแรกผู้เรียนได้เรียนรู้ ทดสอบสมบัติและหลักการทำงานของแม่เหล็กด้วยตนเอง จากนั้นทำการค้นหาและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแม่เหล็ก เช่น หลักการทำงานของแม่เหล็ก และแนวทางในการประยุกต์ใช้แม่เหล็กในการผลิตรถไฟ สุดท้ายเป็นการลงมือการออกแบบและสร้างอย่างวิศวกร
52.พื้นฐานการใช้ GSP5 และการสร้างสื่ออย่างง่ายสิริวรรณ จันทร์กูล ดนิตา ชื่นอารมณ์
และ ดร. รณชัย ปานะโปย
คณิตศาสตร์ม.ต้น
ปัจจุบันได้มีการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนมากขึ้น โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ช่วยทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร พัฒนานักเรียนให้มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ สร้างสรรค์จินตนาการ พัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และนักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองตามความสามารถ

ในการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ ผู้เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad 5.06 (GSP5) ขั้นพื้นฐาน โดยจะแนะนำการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ของโปรแกรมเพื่อการใช้งานพื้นฐาน และสร้างสื่อการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นอย่างง่าย นอกจากนี้ ผู้ที่เข้ารับอบรมหากนำคอมพิวเตอร์มาจะได้รับการลงโปรแกรม GSP ให้ด้วย
53. การจัดการเรียนรู้แนวคิดเชิงคำนวณด้วย Code.orgจีระพร สังขเวทัย ทัศนีย์ กรองทอง
และ พรพิมล ตั้งชัยสิน
เทคโนโลยีม.ต้น
ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว นักเรียนในยุคศตวรรษที่ 21 จำเป็นจะต้องมีทักษะการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา เพื่อสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี ทักษะการคิดมีความจำเป็นในทุกสาขาวิชา เพราะถ้าคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน และมีเหตุผลก็จะช่วยให้สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้ ดำรงชีวิตอย่างประสิทธิภาพ สร้างสรรรค์งานที่เป็นประโยชน์ และมีการเรียนรู้ที่อย่างยั่งยืนในอนาคต

การเริ่มต้นฝึกการคิดและการแก้ปัญหาด้วยการเขียนโปรแกรม (coding) นั้นไม่ยากอย่างที่คิด เนื่องจากปัจจุบันมีเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยในการเรียนรู้ด้านการแก้ปัญหาที่ใช้งานง่ายและน่าสนใจ และมีเครื่องมือสำหรับครูและนักเรียนทุกระดับชั้น ซึ่งในกิจกรรมนี้จะนำเสนอการใช้งาน code.org ซึ่งเป็นแหล่งเครื่องมือที่ช่วยฝึกการแก้ปัญหา และการคิดวิเคราะห์ ผู้เข้ารับการอบรมจะได้ฝึกปฏิบัติการ coding ทั้งแบบใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และไม่ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ และได้เห็นตัวอย่างและการใช้งานเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนต่อไป
54. สนุกกับกิจกรรม STEM ที่บูรณาการคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นอย่างลงตัวดร.อติชาต เกตตะวิทยาศาสตร์ประถม / มัธยม
การนำเสนอในครั้งนี้จะเน้นการจัดกิจกรรม STEM ที่เน้นการนาคณิตศาสตร์มาเป็นแกนกลางในการจัด
กิจกรรม โดยทำให้ผู้เข้าอบรมเห็นอย่างชัดเจนว่า คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาสามารถถูก
นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ ร่วมกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างลงตัว โดยผ่านเรื่องราวที่อยู่ในชีวิตจริง นั่นคือ (1) กิจกรรมแม่น้ำกว้างแค่ไหน ซึ่งเป็นการนำความรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษารวมถึงโปรแกรม Google Earth มาจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการหาความกว้างของแม่น้า โดยตั้งเป้าว่า หลังจากการอบรมผู้เข้าอบรมทุกคนสามารถนำเอากิจกรรมนี้ไปใช้โดยตรงหรือประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนที่โรงเรียนได้ (2) กิจกรรมตรีโกณมิติในนิติวิทยาศาสตร์ เป็นการนำความรู้คณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษามาช่วยในการตรวจสอบเหตุการณ์อาชญากรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการคลี่คลายคดีได้ กิจกรรมนี้จะช่วยให้ผู้เข้าอบรมเห็นคุณค่าของการเรียนคณิตศาสตร์รวมถึงการเรียนรู้แบบบูรณาการมากขึ้นอย่างชัดเจสำหรับภาพรวมในการอบรม ผู้เข้าอบรมจะเข้าใจ STEM Education ชัดเจนขึ้น และยังเห็นว่าเราสามารถนำคณิตศาสตร์มาใช้ในการออกแบบกิจกรรม STEM ได้อย่างลงตัว โดยกิจกรรมนั้นยังสนุกและน่าตื่นเต้นได้อีกด้วย
55. สรรค์สร้างกิจกรรมเชิงวิศวกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์Merredith Portsmore, PhDวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์
เทคโนโลยี
ประถม / มัธยม
การประชุมปฏิบัติการนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้และลงมือออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นวิศวกรรมในชั้นเรียน โดยแบ่งการอบรมออกเป็น 3 ส่วน คือ (1) การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการในการออกแบบกิจกรรมเพื่อกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้วิศวกรรมของนักเรียน (2) การฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่เน้นวิศวกรรมและสะท้อนคิดในมุมมองของผู้เรียน และ (3) การลงมือปฏิบัติเพื่อออกแบบกิจกรรมการเรียนที่เหมาะสมกับบริบทในชั้นเรียนของตนเอง วิทยากรใช้ภาษาอังกฤษโดยมีผู้แปลเป็นภาษาไทย